ทำความรู้จัก เพาเวอร์แอมป์ คลาสดี , เพาเวอร์แอมป์ 4 ch และเพาเวอร์แอมป์ 2 ch

โมโน กับ มัลติแชนแนล จะเลือกแบบไหนดี
  •  
  • แบบมัลติแชนแนล
เพาเวอร์แอมป์ สำหรับรถยนต์ในแบบมัลติแชนแนลนั้น มีให้เลือกใช้กันตั้งแต่ขนาด 1 แชนแนล เรื่อยไปจนถึง 8 แชนแนล กันเลยที่เดียว แต่โดยทั่วไปแล้วในท้องตลาด หรือในวงการเครื่องเสียงรถยนต์บ้านเรานั้นจะมีที่เรานิยมใช้กันหลักๆนั้น ก็มีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือแบบ 2 แชนแนล และแบบ 4 แชนแนล ซึ่งก็มีให้เลือกกันได้อย่างหลากหลายขนาด โดยทั่วไปเพาเวอร์แอมป์ในแบบที่ว่านี้มักจะมีการออกแบบให้สามารถใช้งานได้ อย่างหลากหลาย หรือจะจัดอยู่ในจำพวกเพาเวอร์แอมป์แบบอเนกประสงค์ก็คงไม่ผิดนัก
  • แบบโมโนบล็อก
เป็น เพาเวอร์แอมป์อีกแบบหนึ่งที่ในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมกันมาก กับใครที่ชอบอะไรที่มันแรงๆ หรือหนักๆ นั่นก็คือเพาเวอร์แอมป์แบบ 1 แชนแนล หรือที่เรียกกันอย่างเป็นทางการว่าแบบโมโนบล็อกนั่นละ ซึ่งเพาเวอร์แอมป์ในแบบโมโนที่ว่านี้ โดยมากแล้วมันจะถูกสงวนไว้สำหรับใช้กับการขับลำโพงจำพวก ซับวูฟเฟอร์เท่านั้น...

คลาส...ของเพาเวอร์แอมป์ควรเลือกใช้ให้เหมาะสม

ที นี้มาดูกันที่เรื่องของคลาสในเพาเวอร์แอมป์กันอีกสักครั้งก็แล้วกัน ในปัจจุบันนี้ตลาดเครื่องเสียงรถยนต์บ้านเราส่วนใหญ่จะมีเพาเวอร์แอมป์ให้ เลือกใช้กันอย่างหลักๆแค่ 3 คลาสเท่านั้น คือ คลาส A, คลาส AB และ คลาส D โดยทั่วไปนั้นคิดว่า เพาเวอร์แอมป์ นั้นมันสามารถที่จะทำงานได้เต็มที่ 100% เมื่อมีการป้อนสัญญาณเข้าไป แต่ในความเป็นจริงแล้ว แต่ในความเป็นจริงแล้ว ตัวของ เพาเวอร์แอมป์ เอง จะมีการสลายกำลังในรูปแบบของความร้อน และมีความผิดเพี้ยนในระดับสัญญาณเสียงครับ ซึ่งก็เป็นสองปัจจัยหลักที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของ เพาเวอร์แอมป์ เอง ดังนั้นการออกแบบวงจรของ เพาเวอร์แอมป์ จึงต้องมีการเลือกระดับชั้นในการทำงานด้วย ซึ่งในแต่ละชั้นต่างก็มีคุณสมบัติ และประสิทธิภาพในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป

  • เพาเวอร์แอมป์ คลาส A
เป็น เพาเวอร์แอมป์ ที่ถือว่าเป็นสุดยอดของ เพาเวอร์แอมป์ ทีเดียวครับ ด้วยการทำงานของมันที่ถูก กำหนดไว้ว่าให้มันมีความสามารถในการขยายสัญญาณที่เต็มที่แบบ 100% และมีสภาพการทำงานตามมุมองศาของเสียงที่ครบ 360 องศา จึงทำให้มันมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงมาก ในแง่มุมของการให้เสียงได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่ด้วยเหตุผลทางโครงสร้าง ที่เป็นทรานซิสเตอร์ทั้งหมด จึงทำให้มันมีความร้อนที่สูงมาก เพราะแม้ว่าในขณะที่ไม่มีสัญญาณป้อนเข้ามา ทรานซิสเตอร์ เอาท์พุท ก็ยังคงมีกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตลอดเวลา ซึ่งดูเหมือนจะมีปัญหาสำหรับการติดตั้งการติดตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรถยนต์ เนื่องจากปัญหาของการบริโภคพลังงาน ที่มันต้องการอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แล้วก็ยังมีปัญหาในเรื่องของการระบายความร้อน เพราะ เพาเวอร์แอมป์ ในคลาส A นั้นมันมีความร้อนที่สูงมากจริงๆครับ และด้วยสาเหตุนี้เองครับที่ทำให้ เพาเวอร์แอมป์ แบบคลาส A นั้นจึงเสื่อมความนิยมอย่างรวดเร็ว ซึ่งในทุกวันนี้ก็ดูจะหา เพาเวอร์แอมป์ คลาส A พันธ์แท้ได้ยากมากแล้วเช่นกัน
จุดเด่น
  1. คุณภาพเสียงเข้าขั้น Hi-End
  2. ประสิทธิภาพการทำงายเยี่ยม
  3. ภาคครอสโอเวอร์ปรับเล่นได้หลากหลาย... Full / High-Pass / Low-Pass
จุดด้อย
  1. บริโภคพลังงานเต็มที่ตลอดเวลา
  2. ความร้อนสูง
  • เพาเวอร์แอมป์ แบบคลาส AB 
ที่ มาที่ไปของ เพาเวอร์แอมป์ ในคลาสนี้ก็คือ มันเกิดจากการผสมผสานเอาข้อดีของ เพาเวอร์แอมป์ ใน คลาส A และคลาส B แล้วก็ทำให้ เพาเวอร์แอมป์ คลาส AB ได้ถือกำเนิดขึ้นมา กล่าวคือ เป็นออกแบบที่ยอมให้ เอาท์พุท ทรานซิสเตอร์ มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ขณะที่ไม่มีสัญญาณเสียงป้อนเข้ามา แต่เป็นในระดับที่ต่ำมากๆครับ จึงทำให้ได้ประสิทธิผลมากกว่าคลาส A ด้วยความเพี้ยนที่ต่ำ ทำให้มันมีความน่าเชื่อถือที่สูงมากนั่นเอง เพาเวอร์แอมป์ ในคลาส AB นี้ มีการให้คุณภาพของเสียงได้รองลงมาจากคลาส A และเป็นที่นิยมมากในตลาดเครื่องเสียงส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเสียงที่อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เรื่องของความร้อนก็ไม่มีปัญหา เพราะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าคลาส A ที่สำคัญมันสามารถให้กำลังขับได้สูงกว่า และมีการบริโภคพลังงานที่น้องกว่าในคลาส A มาก จึงทำให้ในระยะหลังนี้ตลาดเครื่องเสียงรถยนต์จึงมักจะผลิต เพาเวอร์แอมป์ ออกมาเป็นในคลาส AB ซะเป็นส่วนใหญ่...

จุดเด่น
  1. บริโภคพลังงานเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น...เมื่อไม่มีการกระตุ้นจากสัญญาณอินพุท
  2. คุณภาพเสียงยอมรับได้...แม้จะไม่เทียบเท่าคลาส A
  3. ภาคครอสโอเวอร์ปรับเล่นได้หลากหลาย... Full / High-Pass / Low-Pass
จุดด้อย
  1. กำลังขับมักไม่สูงมากนัก...
  2. มีความร้อนสะสมพอสมควร...
  • เพาเวอร์แอมป์ คลาส D 
ก็ อย่างที่บอกนั่นละครับ เป็น เพาเวอร์แอมป์ ที่มักจะสงวนไว้สำหรับใช้กับลำโพง ซับวูฟเฟอร์ เท่านั้น เนื่องจากว่ามันจะมีการเปิด/ปิดอย่างรวดเร็วของ ทรานซิสเตอร์ จึงทำให้เกิดปัญหาขึ้นที่ย่านความถี่สูงเสียเป็นส่วนมาก ดังนั้น โดยปกติจึงมักจะใช้งานในการกรองความถี่ให้ผ่านเฉพาะย่านความถี่ต่ำมาใช้งาน นั่นเอง และก็ด้วยความสามารถที่เอื้อมถึงกำลังขับได้ถึง 80% แถมยังมีความร้อนสะสมที่ค่อนข้างน้อย แต่มันก็มีข้อเสียครับ คือ มันไม่มีความแม่นยำเลยในด้านของความมี่สูง ดังนั้น เพาเวอร์แอมป์ ในคลาส D นี้ จึงถูกสรุปโดยธรรมชาติว่า มันเหมาะแก่การใช้งานสำหรับเสียงในย่านความถี่ต่ำ หรือการใช้งานกับลำโพง ซับวูฟเฟอร์ นั่นเอง...

จุดเด่น
  1. แทบจะไม่มีการบริโภคพลังงานเลย...เมื่อไม่มีการกระตุ้นจากสัญญาณอินพุท
  2. สามารถสร้างกำลังขับได้สูง...
จุดด้อย
  1. ทำงานได้ดีกับเฉพาะความถี่ต่ำเท่านั้น
  2. เรื่องคุณภาพเสียงไม่ต้องพูดถึง ทำงานกับความถี่เสียงย่าน Low-Pass เพียงอย่างเดียว