สาระน่ารู้เกี่ยวกับเพาเวอร์แอมป์


สาระน่ารู้เกี่ยวกับเพาเวอร์แอมป์

                                                   สาระน่ารู้...เกี่ยวกับเพาเวอร์แอมป์
                            
เพาเวอร์แอมพ์ที่ได้มาตรฐาน ส่วนใหญ่จะมีฟังค์ชันพื้นฐานสำหรับการปรับแต่งเสียง และ ความถี่ที่บรรจุไว้ในตัวเครื่องอย่างครบครัน
ยกตัวอย่างเช่น วงจรไฮพาสส์, โลว์พาสส์ ฟิลเตอร์ สำหรับตัดแบ่งความถี่ให้กับลำโพงแต่ละประเภท (ทวีเตอร์/มิดเรนจ์/วูเฟอร์)
เพื่อให้ลำโพงทั้งระบบทำงานได้อย่างสอดคล้อง และเต็มประสิทธิภาพ มาดูกันว่าฟังค์ชัน ที่นิยมใส่เข้าไปในเพาเวอร์แอมพ์ ที่รวบรวมมาให้ดูนั้น
มีฟังค์ชันอะไรบ้าง และใช้งานอย่างไร

                                                       ฟังค์ชันต่างๆ ในเพาเวอร์แอมพ์
HPF (HIGH PASS FILTER) เป็นฟังค์ชันที่พบเห็นเป็นประจำกับเพาเวอร์แอมพ์ทุกระดับราคาที่ผู้ผลิตได้บรรจุไว้ภายในเครื่อง
เพื่อใช้ตัดแบ่งความถี่สูงผ่านให้กับลำโพงทวีเตอร์/ มิดเรนจ์ โดยขึ้นอยู่กับผู้ผลิตจะออกแบบให้มีจุดตัดความถี่อยู่ที่เท่าไร อย่างเช่น วงจรไฮพาสฟิลเตอร์ ที่สามารถปรับค่าได้ต่อเนื่องตั้งแต่ 40-250 HZ เพื่อให้ลำโพงทวีเตอร์/มิดเรนจ์ ทำงานได้ถูกต้องตามสเปคที่โรงงานกำหนด
ซึ่งฟังค์ชันนี้มาพร้อมวงจรเลือกปรับค่าความ ลาดชัน (เช่น 6 ดีบี, 12 ดีบี/ออคเทฟ) เพื่อให้ย่านความถี่กลาง/สูงของลำโพงทวีเตอร์/ มิดเรนจ์
 และความถี่ต่ำของซับวูเฟอร์นั้นเชื่อมต่อกันได้อย่างราบเรียบ

LPF (LOW PASS FILTER) เป็นฟังค์ชันที่บรรจุไว้ภายในเพาเวอร์แอมพ์อีกชนิดหนึ่ง ที่พบเห็นกันบ่อยมาก เพื่อให้ผู้ใช้งาน
ได้เลือกตัดความถี่ต่ำให้กับซับวูเฟอร์ได้อย่างเสุนัขะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ผลิตออกแบบ และกำหนดจุดตัดความถี่ต่ำที่ย่านไหน อย่างเช่น           30-250 HZ สามารถเลือกปรับค่าความลาดชันได้ (เช่น 12 ดีบี, 24 ดีบี/ออคเทฟ) เพื่อให้ย่านความถี่ ระหว่างลำโพงซับวูเฟอร์ และทวีเตอร์/มิดเรนจ์นั้นเชื่อมต่อกันได้อย่างราบเรียบ เพื่อให้เสียงดนตรีนั้นครบถ้วนตลอดย่านความถี่ 20-20,000 HZ สำหรับการเลือกค่าความลาดชันนั้น สามารถปรับให้ เสียงเบสส์กลมกลืนกับเสียงกลาง/แหลมได้อย่างสมบูรณ์ เช่น ในกรณีที่ติดตั้ง ตู้ซับวูเฟอร์ไว้ด้านหลัง หรือท้ายรถ และลำโพงทวีเตอร์/มิดเรนจ์ติดตั้งอยู่ด้านหน้า

FULL เป็นอีกฟังค์ชันหนึ่งที่บรรจุอยู่ในเพาเวอร์แอมพ์เช่นเดียวกัน เป็นวงจรกรองความถี่สำหรับขับเล่นกับลำโพงฟูลล์เรนจ์
(ลำโพงที่ออกแบบให้ตอบสนองความถี่ได้ครอบคลุม ทุกย่านเสียง) เป็นย่านความถี่ทั้งหมดที่ออกไปยังลำโพงทั้งความถี่สูง หรือต่ำ

BAND PASS FILTER เป็นวงจรกรองความถี่ในช่วงที่กำหนดผ่านเท่านั้น ส่วนความถี่ที่ นอกเหนือจากนั้นจะถูกลดทอนสัญญาณลง
เป็นวงจรที่รวมกันระหว่าง LOW PASS FILTER และ HIGH PASS FILTER ส่วนใหญ่จะบรรจุอยู่ในเพาเวอร์แอมพ์บางยี่ห้อ

SUB SONIC FILTER เป็นฟังค์ชันที่มีประโยชน์สำหรับการใช้งานอีกประเภทหนึ่งที่ บรรจุอยู่ในเพาเวอร์แอมพ์ โดยผู้ใช้สามารถเลือกตัดความถี่
ได้อิสระตั้งแต่ 15-40 HZ หรือ 25-100 HZ (ขึ้นอยู่กับการออกแบบ) โดยกรองความถี่ต่ำที่ไม่ต้องการทิ้งไป เพื่อให้ เหลือช่วงความถี่ที่ต้องการ
 เนื่องจากหูของมนุษย์ปกติจะมีความไวในการได้ยินเสียง ตั้งแต่ ช่วงความถี่ 30-15,000 HZ (ความถี่เสียงอยู่ในช่วง 20-20,000 HZ) ส่วนช่วงความถี่ ที่นอกเหนือจากนั้น หูของมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ และได้ยินเสียงต่างๆ ได้ เป็นการลดการ ทำงานของเพาเวอร์แอมพ์โดยไม่สูญเสียกำลังงานที่ไม่จำเป็นทิ้งไป

BASS EQ เป็นอีกฟังค์ชันหนึ่งที่บรรจุไว้ภายในเพาเวอร์แอมพ์ เพื่อเพิ่มการตอบสนอง ความถี่ต่ำให้กับลำโพงซับวูเฟอร์ให้ดียิ่งขึ้น เป็นการเสริม
 และเพิ่มเสียงเบสส์ทุ้มลึกให้มี ความชัดเจน ปุ่มปรับชนิดนี้สามารถปรับเพิ่ม/ลดความดังเสียงได้ +/-6 ดีบี หรือ +/-12 ดีบี เช่นที่ความถี่ 45 HZ
ซึ่งขึ้นอยู่กับการออกแบบว่าสามารถปรับได้ที่ระดับความดังเท่าไร และเสุนัขะสำหรับนักเล่นที่ชื่นชอบเสียงเบสส์เป็นพิเศษ

PHASE SHIFT CONTROL ในบางยี่ห้อจะระบุคำว่า PHASE CONTROL หรือ PHASE ก็ได้ มีความหมายเดียวกัน เป็นฟังค์ชันสำหรับ
ปรับควบคุมการเลื่อนของเฟส สามารถปรับได้ต่อเนื่องตั้งแต่ 0-180 องศา เพื่อให้แนวของตำแหน่งเสียงทุ้มต่ำที่ดีทาง ด้านหน้า เป็นเทคนิคการติดตั้ง
ะบบฟรอนท์สเตจ ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มนักฟังที่เน้นคุณภาพเสียง เช่น การแข่งขัน SOUND QUALITY จะใช้เทคนิคการวางตำแหน่งติดตั้ง ลำโพง
และทูนเสียงทั้งระบบ เพื่อให้ได้ความกว้าง และความลึกของเสียงดนตรีทั้งวง เช่นเดียวกับการนั่งฟังชุดเครื่องเสียงภายในบ้าน

GAIN CONTROL เป็นปุ่มปรับควบคุมสัญญาณอินพุทจากวิทยุรถยนต์ โดยที่สัญญาณนี้ จะออกมาทางสายต่อชนิด RCA เนื่องจากวิทยุรถยนต์รุ่นใหม่ จะมีค่าแรงดันพรีเอาท์ขนาด 4 โวลท์ ฉะนั้นการเลือกชุดเครื่องเสียงที่ทำงานได้สอดคล้องกัน เป็นหัวใจหลักของการจัดชุด ที่ลงตัว สำหรับปุ่มปรับ GAIN นี้ มีอยู่ในเพาเวอร์แอมพ์ทุกยี่ห้อ สามารถปรับระดับสัญญาณ (INPUT SENSITIVITY) ได้ตั้งแต่ 0.2-5 โวลท์ หรือมากกว่านี้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการ ออกแบบของผู้ผลิตยี่ห้อนั้นด้วย
HIGH INPUT ในกรณีที่เพาเวอร์แอมพ์มีช่องต่อในลักษณะดังกล่าว สุนัขยถึง ช่องต่อ สัญญาณสำหรับวิทยุเดิมที่ติดตั้งมาจากโรงงาน โดยใช้สายลำโพงของวิทยุเดิมเชื่อมต่อกับ เพาเวอร์แอมพ์ได้ทันที โดยเฉพาะกับนักเล่นที่ไม่ต้องการเปลี่ยนวิทยุติดรถ เนื่องจากรถ ขนาดกลาง หรือเล็ก รุ่นใหม่ๆ ในหลายยี่ห้อจะมี STEERING WHEEL CONTROLS มีปุ่มสำหรับควบคุมการสั่งงานวิทยุรถยนต์ได้ที่พวงมาลัย
MASTER/SLAVE เป็นฟังค์ชันสำหรับเชื่อมต่อกับเพาเวอร์แอมพ์ 2 เครื่องเข้าด้วยกัน การเชื่อมต่อแบบนี้ส่วนใหญ่จะใช้กับเพาเวอร์แอมพ์ยี่ห้อ
และรุ่นเดียวกัน โดยต่อสัญญาณ จากวิทยุรถยนต์เข้ากับเพาเวอร์แอมพ์เครื่องหลัก และใช้สายต่อสัญญาณแบบ PHONE CABLE มีลักษณะคล้ายสายโทรศัพท์(DATA LINK) ในบางยี่ห้อเป็นขั้วต่อ RCA เพื่อนำสัญญาณจากเพาเวอร์แอมพ์เครื่องหลักไปยังเพาเวอร์แอมพ์อีกเครื่อง โดยที่เพาเวอร์แอมพ์ ทั้ง 2 เครื่องจะอยู่ในลักษณะการใช้งาน ที่เรียกว่า BRIDGE MODE ซึ่งการต่อเล่นแบบนี้ จำเป็นต้องตรวจสอบแรงดันจ่ายไฟไม่ควรต่ำกว่า 16 โวลท์ หรือเสริมประสิทธิภาพระบบไฟ ให้กับชุดเครื่องเสียงรถยนต์เพิ่มเติมเป็นพิเศษ

TRI-MODE ลักษณะการใช้งานของฟังค์ชันนี้ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในเพาเวอร์แอมพ์ทั่วไป แต่จะออกแบบขึ้นเฉพาะตามที่โรงงานผู้ผลิตได้ทำขึ้นเป็นพิเศษสำหรับต่อกับลำโพงทวีเตอร์/ มิดเรนจ์ (1 คู่) ร่วมกับซับวูเฟอร์ (1 ข้าง) โดยต่อพ่วงกันในลักษณะขนาน ซึ่งต้องอ่านคำ แนะนำในการต่อสายให้ถูกต้องตามคู่มือที่โรงงานกำหนด การต่อใช้งานด้วยฟังค์ชัน ดังกล่าว เป็นที่นิยมในกลุ่มนักเล่นที่เน้นคุณภาพเสียง และใช้งบประมาณอย่างคุ้มค่า ซึ่ง เพาเวอร์แอมพ์ที่ถูกออกแบบให้ต่อแบบ TRI-MODE จะมีวงจรไฮพาสส์/โลว์พาสส์ ฟิลเตอร์อยู่ภายในเครื่องเช่นกัน เพียงแต่ว่าจะใช้วงจรไฮพาสส์ ฟิลเตอร์เท่านั้น สำหรับตัดความถี่ให้กับลำโพงทวีเตอร์/มิดเรนจ์ ในส่วนของลำโพงซับวูเฟอร์จะใช้ชุดพาสสีฟที่ แยกอิสระ โดยคำนวณค่าขดลวดที่ใช้กรองความถี่ต่ำ และตัดความถี่กลาง/สูงทิ้งไป
                                                                                       บทสรุป
               เพาเวอร์แอมพ์ส่วนใหญ่จะมีฟังค์ชันการทำงานที่ครบถ้วน ทั้งนี้ก็เพื่อนำไปใช้ปรับแต่งเสียง และตัดความถี่ให้กับลำโพงทวีเตอร์/มิดเรนจ์ และซับวูเฟอร์ได้อย่างถูกต้อง และเสุนัขะสมกับ การฟังเพลงในรถยนต์ เพื่อให้ได้รายละเอียดของเสียงดนตรีที่ครบถ้วน และชัดเจน แต่ไม่ว่า จะจัดระบบเสียง FRONT STAGEหรือ FRONT STAGE & REAR FILL ก็ตาม เพราะฉะนั้นถ้าหากต้องการคุณภาพเสียงสูงสุด จะต้องมีองค์ประกอบหลักที่เป็นจุดสำคัญ คือ คุณภาพของสินค้า การจัดชุดที่ลงตัว การติดตั้งได้มาตรฐาน ทั้งนี้ก็เพื่อความสุข และความบันเทิงในการฟังเพลงในรถยนต์อย่างแท้จริงบทสรุป