การติดตั้ง และปรับแต่งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ขั้นเทพ

ติดตั้ง และปรับแต่งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์

* การติดตั้งแบทเตอรี ให้กับเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ 

   ถ้าหากจำเป็นต้องเพิ่มแบทเตอรีอีก 1 ตัว สำหรับระบบเสียง จะต้องติดตั้งแบทเตอรีให้มีการระบายอากาศผ่านออกนอกตัวรถได้ หรือถ้ามีคาพาซิเตอร์ตัวใหญ่ ต้องมีการระบายอากาศด้วยเช่นกัน ส่วนจะใช้คาพาซิเตอร์กี่ตัวถึงจะพอ มีคำแนะนำกันว่า ถ้าระบบเครื่องเสียงติดรถยนต์ มีกำลังประมาณ 1,000 วัตต์ แนะนำให้ติดคาพาซิเตอร์ขนาด 1,000,000 ไมโครฟารัด (1 ฟารัด) ต่อชุดเครื่องเสียง 1,000 วัตต์ ส่วนการติดตั้งเพาเวอร์แอมพ์ที่อยู่ในห้องเก็บของด้านหลัง หรือใต้เบาะนั่ง มีสูตรคำนวณขนาด และ ความยาวสายไฟที่เหมาะสม คือ TOTAL POWERx2 หารด้วย VDC ตัวอย่างเช่น เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ยี่ห้อ A กำลังขับ 500 วัตต์x2 หารด้วย 13 (VCD) ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 76.9 แอมพ์ ถ้าต้องการเดินสายไฟเบอร์ 4 AWG จากแบทเตอรีด้านหน้ารถไปที่เพาเวอร์แอมพ์ 500 วัตต์ จะใช้สายไฟยาวไม่เกิน 24 ฟุต โดยใช้ตารางเทียบขนาดสายไฟ/สายกราวน์ด หรือดูเพิ่มเติมจากคู่มือสินค้า ซึ่งจะแนะนำขนาด และความยาวสายไฟที่เหมาะสม

 *การปรับแต่งเสียง ให้กับเพาเวอร์แอมป์รถยนต์

ปัจจุบันเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ทุกยี่ห้อที่มีจำหน่ายในบ้านเรา ผู้ผลิตได้อำนวยความสะดวกในการใช้งาน ให้ทำงานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ตั้งแต่การใส่ฟังค์ชันการทำงานหลายๆ อย่างเข้าไว้ในตัว เช่น ครอสส์โอเวอร์ อีควอไลเซอร์ ซับโซนิค ฟิลเตอร์ บูสต์เบสส์ ฯลฯ ซึ่งฟังค์ชันเหล่านี้ มีหลักและเทคนิคการปรับทูน ดังนี้ เริ่มต้นที่ ครอสส์โอเวอร์ ซึ่งเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ไม่ว่าจะมีราคาหลักพัน หรือหลักหมื่นบาท จะมีฟังค์ชันนี้ทุกยี่ห้อ เพื่อเลือกตัดความถี่ให้กับลำโพงในแต่ละชุด ถ้าเป็นวงจรชนิดไฮพาสส์ จะทำหน้าที่ตัดความถี่สูง เช่น ปรับไฮพาสส์ได้ตั้งแต่ 120-3,000 HZ และวงจรชนิดโลว์พาสส์ จะทำหน้าที่ตัดความถี่ต่ำให้กับวูเฟอร์ และซับวูเฟอร์สำหรับการปรับครอสส์โอเวอร์ที่เพาเวอร์แอมพ์ให้เหมาะสมกับลำโพง ขึ้นอยู่กับการตอบสนองความถี่ ของลำโพง เช่น ลำโพงแยกชิ้น 6 1/2" มีค่าตอบสนองความถี่ 63-20,000 HZ และลำโพงซับวูเฟอร์ 10" มีค่าตอบสนองความถี่ 28-120 HZ ตัวอย่างเช่น การปรับตั้งไฮพาสส์ และโลว์พาสส์ ที่เพาเวอร์แอมป์รถยนต์ประมาณ 60 HZ ส่วนความลาดชัน (ดีบี/ออคเทฟ) ต้องดูที่สเปคลำโพงในระบบ โดยประมาณแล้วจะ ตั้งไว้ที่ 6 หรือ 12 ดีบี/ออคเทฟ เพราะถ้าตั้งความลาดชันสูงเกินไป อาจทำให้เกิดการเหลื่อมทางเฟส ระหว่างลำโพงกลาง/แหลม และซับวูเฟอร์ ทำให้เสียงกลาง/แหลม และเสียงทุ้ม เดินทางถึงหูไม่พร้อมกัน หรือเกิดการหักล้างความถี่ ถ้าเกิดกรณีดังกล่าว ต้องใช้เครื่องวัด RTA ตรวจสอบความราบเรียบ และกลมกลืน ระหว่างเสียงทุ้มกับเสียงกลาง/แหลมด้วย นอกจากนี้ยังมีเพาเวอร์แอมพ์ที่มีฟังค์ชัน EQ (อีควอไลเซอร์) ส่วนใหญ่ใช้ปรับเสียงให้กับลำโพงซับวูเฟอร์ เช่น BASS EQ ปรับเพิ่ม/ลดได้ +6, +12 ดีบี สำหรับการปรับ EQ ในแอมพ์นั้น ส่วนใหญ่จะปรับเพื่อลด (CUT) ความถี่ที่ต้องการ เพราะถ้าปรับเพิ่ม (BOOST) มากไป จะมีผลกระทบต่อเฟสของความถี่ที่เปลี่ยนไปด้วย มีคำแนะนำกันว่าปรับเท่าที่จำเป็น เพื่อให้ได้เสียงเบสส์ชัดเจนเท่านั้น โดยยังมีระดับความดังของเสียงทุ้ม กลาง/แหลม ที่สมดุลกันทั้งระบบ ส่วนการปรับซับโซนิค ฟิลเตอร์ ในเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ ส่วนใหญ่ใช้ปรับให้กับลำโพงซับวูเฟอร์ เพื่อลดความถี่ซ้ำซ้อน (เรโซแนนศ์) ที่เกิดจากห้องโดยสารรถยนต์ หรือลดเสียงเบสส์อื้ออึง ไม่ชัดเจน เบสส์บวม ซึ่งการปรับซับโซนิค ฟิลเตอร์นี้ ไม่ได้กำหนดตายตัวว่าจะต้องอยู่ในช่วงความถี่เท่าไร อาจจะปรับไว้ตั้งแต่ 15-20 HZ ขึ้นอยู่กับความชอบ และทดลองฟัง เช่น ถ้าต้องการแนว SQ เน้นคุณภาพ จะตัดไว้ที่ 70-120 HZ หรือแบบตูมตาม จะเน้นที่ 45 HZ แต่ก็ไม่ควรปรับเพิ่มมาก เพราะจะทำให้เสียงเบสส์เบลอ MASTER/SLAVE เป็นอีกโหมดหนึ่งที่บรรจุไว้ในเพาเวอร์แอมพ์สำหรับใช้งานกับซับวูเฟอร์ โดยเฉพาะเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ คลาสดี ที่ออกแบบให้สามารถต่อเพาเวอร์แอมป์รถยนต์ 2 ตัวพ่วงเข้ากันด้วยโหมดนี้ เป็นการต่อพ่วงเพาเวอร์แอมพ์เข้าไปในระบบอีกชุดหนึ่ง โดยไม่ต้องใช้สัญญาณจากวิทยุรถยนต์ PHASE SHIFT เป็นอีกฟังค์ชันหนึ่งที่มีอยู่ในเพาเวอร์แอมพ์ทุกยี่ห้อ มีไว้สำหรับปรับการเลื่อนเฟสของลำโพงแต่ละตัว เมื่อติดตั้งลำโพงเข้าไปในระบบเรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าเสียงดนตรีเบาผิดปกติ นั่นอาจเป็นเพราะว่า มีความถี่บางช่วงหักล้างกัน สังเกตได้จากการฟัง คือ เสียงเบสส์จะเบา ถึงแม้ว่าจะเร่งเสียงเบสส์เพิ่มขึ้นก็ตาม หรือใช้เครื่องเชคเฟส (PHASE CHECKER) กับลำโพงทุกตัว โดยทำควบคู่ไปกับการทดลองสลับขั้วสายลำโพงทีละตัว ถ้าปรับเฟสถูกต้อง จะได้ยินเสียงที่ชัดเจนตามปกติ ซึ่งต้องอาศัย ความชำนาญในการฟัง หรือใช้เครื่องตรวจวัดเฟสลำโพง พร้อมกับแผ่นเชคเฟส (POLARITY TESTER CD) โดยสังเกตจากไฟแสดงผล (สีเขียว และสีแดง) หลอดไฟสีเขียวติด 3 ครั้ง และหลอดสีแดงติด 1 ครั้ง แสดงว่าเฟสถูกต้อง แต่ถ้าหลอดไฟติดไม่ตรงตามนี้ แสดงว่าต่อสายผิด ส่วนสาเหตุที่ต้องตรวจเชคเฟสลำโพงก็เพราะว่า ลำโพงบางตัวอาจมีความผิดพลาดในขั้นตอนการผลิต หรือช่างต่อสายผิดก็เป็นได้